วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556
รัชนก อินทนนท์ (ชื่อเล่น: เมย์; 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เติบโตที่จังหวัดยโสธร[5] — ) เป็นนักกีฬาแบดมินตันชาวไทย ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556 รัชนก อินทนนท์ ได้ก้าวขึ้นสู่การเป็นแชมป์โลกจากการแข่งขันเวิลด์แชมเปียนชิพ และเป็นการสร้างประวัติศาสตร์แชมป์โลกแบดมินตันที่มีอายุน้อยที่สุด[6] ปัจจุบัน รัชนกเล่นให้แก่สโมสรชิงเต่าในลีกระดับโลกที่ประเทศจีน โดยเซ็นสัญญาแบบปีต่อปี[1
วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556
Frank Lampard
แฟรงก์ แลมพาร์ด มีชื่อเต็มว่า แฟรงก์ เจมส์ แลมพาร์ด[1] เกิดวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1978 ที่กรุงลอนดอน ในตระกูลนักฟุตบอล โดยพ่อของเขาคือ แฟรงก์ แลมพาร์ด ซีเนียร์ เป็นอดีตกองหลังทีมชาติอังกฤษ ลุงของเขาคือ แฮร์รี เรดแนปป์ ปัจจุบันเป็นผู้จัดการสโมสรฟุตบอลควีนส์ปาร์ค เรนเจอร์ส และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ เจมี เรดแนปป์ เป็นอดีตนักเตะของเซาแทมป์ตันเช่นเดียวกัน
Iker Casillas Fernández
อีเกร์ กาซียัส เฟร์นันเดซ (สเปน: Iker Casillas Fernández) เป็นนักฟุตบอลตำแหน่งผู้รักษาประตูทีมชาติสเปน ปัจจุบันสังกัดสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด สวมเสื้อหมายเลข 1
นกแอร์
" นกแอร์ " เป็นชื่อที่ง่าย และสั้นต่อการจดจำ โดยเป็นชื่อที่สื่อถึงความเป็นมิตร และเป็นสัญลักษณ์ของอิสรภาพแห่งการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นชื่อที่ย้ำถึงความเป็นไทยได้อย่างแท้จริง ซึ่งก็เปรียบเสมือนนก ที่มีอิสระในการบินสามารถบินไปไหนต่อไหนได้อย่างมีอิสรเสรี สำหรับตราสัญญาลักษณ์นั้นนกแอร์เลือกที่จะใช้สีเหลืองเป็นสีประจำสายการบินนกแอร์ โดยสีเหลืองนั้น ได้แสดงลักษณะและมีความหมายที่หมายถึงความอบอุ่นและความเป็นมิตร
พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร

เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[6] อดีตข้าราชการตำรวจ อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีแห่งประเทศกัมพูชา สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน และอดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา มีสัญชาติไทยโดยการเกิด เคยถือสัญชาตินิการากัว[7][8] ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร[9]
พ.ศ. 2537 พันตำรวจโท ทักษิณ เข้าสู่วงการเมือง สังกัดพรรคพลังธรรม โดยการชักนำของพลตรีจำลอง ศรีเมือง ต่อมาจึงก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ใน พ.ศ. 2541 และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก สำหรับงานการเมือง พันตำรวจโท ทักษิณ ใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม[10] และดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี[11][12] ริเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นครั้งแรกของประเทศ คือ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค[13] ตลอดจนการกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง[14] พันตำรวจโท ทักษิณ เริ่มดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งถนน การขนส่งมวลชน และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 เหลือร้อยละ 41 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549[15][16] รวมทั้งระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่าง พ.ศ. 2544 และ 2549[17] พันตำรวจโท ทักษิณ ดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ และจากผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ทำให้พันตำรวจโท ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์[18][19]
อย่างไรก็ดี รัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน การฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อน ดำเนินการไม่เป็นอย่างการทูต และควบคุมสื่อ[20] ส่วนพันตำรวจโท ทักษิณเอง ก็มีข้อกล่าวหาว่าหลีกเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทย ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ[21][22] องค์การนิรโทษกรรมสากลวิพากษ์วิจารณ์พันตำรวจโท ทักษิณ จากประวัติเชิงสิทธิมนุษยชน พันตำรวจโท ทักษิณยังถูกกล่าวหาว่า ปกปิดทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่ง[23]
การประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2549 และวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน คณะทหารซึ่งภายหลังเรียกตนเองว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ขณะที่พันตำรวจโท ทักษิณอยู่ต่างประเทศ ศาลที่คณะทหารแต่งตั้งนั้น ตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยด้วยข้อหาโกงการเลือกตั้ง พร้อมทั้งตัดสิทธิ์ทางการเมือง พันตำรวจโท ทักษิณ และกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เป็นเวลาห้าปี[24] คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่ คมช.แต่งตั้งขึ้นนั้น อายัดทรัพย์สินของพันตำรวจโท ทักษิณ และครอบครัวในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 76,000 ล้านบาท โดยอ้างว่าเขาร่ำรวยผิดปกติ ขณะอยู่ในตำแหน่ง[25][26] พันตำรวจโท ทักษิณและภรรยา ประกาศทรัพย์สินรวม 15,100 ล้านบาท เมื่อเขาเข้าดำรงตำแหน่งใน พ.ศ. 2544 แม้เขาจะโอนทรัพย์สินจำนวนมาก ไปยังบุตรและคนสนิท ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งก็ตาม[27]
พันตำรวจโท ทักษิณ เคยเดินทางกลับประเทศไทยครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 หลังพรรคพลังประชาชนที่เขาสนับสนุน ชนะการเลือกตั้งหลังรัฐประหาร แต่หลังจากเดินทางเยือนกรุงปักกิ่งในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 พันตำรวจโท ทักษิณไม่ได้เดินทางกลับไทย เพื่อฟังคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และขอลี้ภัยในสหราชอาณาจักรแต่ถูกปฏิเสธ พันตำรวจโท ทักษิณจึงต้องเดินทางจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง หลังจากนั้นในเดือนตุลาคม ศาลคดีการเมืองตัดสินจำคุกเขาเป็นเวลา 2 ปี จากคดีทุจริตประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษก[28] พันตำรวจโท ทักษิณเป็นผู้สนับสนุน และถูกมองว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนเงินทุน อยู่เบื้องหลังกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) [29][30] ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลขณะนั้น เพิกถอนหนังสือเดินทางของพันตำรวจโท ทักษิณ โดยอ้างว่ามีบทบาทในกลุ่ม นปช.ระหว่างเหตุการณ์ไม่สงบช่วงสงกรานต์[31][32][33] ศาลคดีการเมืองวินิจฉัยให้ทรัพย์ของพันตำรวจโท ทักษิณ และคนใกล้ชิด มูลค่าราว 46,000 ล้านบาท จากที่ คตส.อายัดไว้ 76,000 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อภิสิทธิ์เกิดในประเทศอังกฤษ เข้าวิทยาลัยอีตัน และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2535 ขณะอายุได้ 27 ปี เขาถูกจัดอันดับเป็นนักการเมืองแถวหน้าของพรรคอย่างรวดเร็ว แต่อภิสิทธิ์ก็เคยแพ้การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เมื่อ พ.ศ. 2544 อภิสิทธิ์ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หลังพรรคแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548[3] อภิสิทธิ์ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในวัย 44 ปี [4] หลังศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งเป็นผลให้นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่ง
อภิสิทธิ์เป็นผู้นำประเทศระหว่างวิกฤตการณ์การเงินโลก และเผชิญหน้ากับความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะดำรงตำแหน่ง เขาเสนอ "วาระประชาชน" ซึ่งมุ่งสนใจนโยบายซึ่งมีผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของพลเมืองชนบทและผู้ใช้แรงงานของไทยเป็นหลัก[5] เขาออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสองประการที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสามปี มูลค่า 4 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ และโครงการให้เงินอุดหนุนและแจกเงินมูลค่า 3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ[6] ยุคอภิสิทธิ์มีการปิดเว็บไซต์และสถานีวิทยุเป็นจำนวนมาก ตลอดจนจับกุมและปิดปากบุคลากรสื่อ ผู้ต่อต้านและหัวหน้าแรงงานจำนวนมาก โดยอ้างความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย[7][8] จากรายงาน พ.ศ. 2553 ฮิวแมนไรตส์วอตช์เรียกยุคอภิสิทธิ์ว่าเป็น "มีการเซ็นเซอร์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยล่าสุด" และฟรีดอมเฮาส์ ลดระดับอันดับเสรีภาพสื่อของไทยลงเหลือ "ไม่เสรี"[9] [10] อภิสิทธิ์ยังสนับสนุนมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน แต่รัฐมนตรีหลายคนกลับมีเรื่องอื้อฉาวทางการเมือง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายส่วนถูกวิจารณ์ว่าคอร์รัปชัน
รัฐบาลอภิสิทธิ์เผชิญการประท้วงใหญ่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 และเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 อภิสิทธิ์ดำเนินโครงการปรองดองเพื่อสืบสวนเหตุสลายการชุมนุม แต่การทำงานของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกลับถูกขัดขวางโดยองค์กรทหารและองค์กรรัฐ[11] กองทัพไทยปะทะกับกัมพูชาหลายครั้งระหว่าง พ.ศ. 2552-2553 ซึ่งเป็นการสู้รบนองเลือดที่สุดในรอบกว่าสองทศวรรษ[12] เหตุความไม่สงบในชายแดนภาคใต้บานปลายขึ้นระหว่างรัฐบาลอภิสิทธิ์ และรายงานการทรมานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้น
หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 แต่ได้รับเลือกใหม่ในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ในสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ต่อมาเป็นผู้บริหารในธุรกิจซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ผู้เป็นพี่ชาย และภายหลังเป็นประธาน บริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพันตำรวจโท ทักษิณ เสนอชื่อยิ่งลักษณ์เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคเพื่อไทยได้ผู้แทนราษฎร 265 ที่นั่ง นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทยที่พรรคการเมืองพรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภา จากนั้นยิ่งลักษณ์ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 [5]
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย[3]ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยกรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ[1]
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี และมีลักษณะเด่นทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง เช่น ทะเลสาบ น้ำตก ถ้ำ หน้าผาที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 1,821,687.84 ไร่ หรือ 2,914.70 ตารางกิโลเมตร
ความเป็นมา : เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเสด็จที่เขื่อนแก่งกระจาน ได้รับสั่งให้นายถนอม เปรมรัศมี อธิบดีกรมป่าไม้ เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2522 ได้มีกระแสพระราชดำรัสว่า “เรื่องป่าต้นน้ำ ลำธารของแม่น้ำเพชรบุรี ขอให้เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาอย่าให้มีการลักลอบตัดไม้ ถางป่า ทำไร่ในป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี เพราะจะทำให้เกิดความแห้งแล้ง แม้จะได้มีการให้สัมปทานป่าแปลงนี้ไปบ้างแล้ว ก็ขอให้ เจ้าหน้าที่ตรวจดูแลการทำไม้ อย่าให้เป็นการทำลายป่าเกิดขึ้น” จากพระราชดำรัสดังกล่าวประกอบกับนโยบายของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 452/2523 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2523 ให้นายสามารถ ม่วงไหมทอง นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นบริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารแม่น้ำเพชรบุรีเหนือเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ตามหนังสือรายงานการสำรวจ ด่วนที่สุด ที่ กส 0708/จช. 67 ลงวันที่ 15 เมษายน 2523 รายงานว่า บริเวณป่าดังกล่าวเป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี เป็นภูเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าสมบูรณ์ มีทิวทัศน์สวยงาม ประกอบด้วยน้ำตก ถ้ำ หน้าผา ทะเลสาบ พันธุ์ไม้มีค่านานาชนิด เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่างๆ เช่น เลียงผา วัวแดง กระทิง นก ปลาต่างๆ และช้างป่า ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและศึกษาความรู้ด้านต่างๆ ทั้งเป็นการรักษาสภาพป่าให้คงอยู่เป็นสมบัติของชาติถาวรสืบไปดังพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณพื้นที่ป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ในท้องที่ตำบลน้ำกลัดเหนือ กิ่งอำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอเขาย้อย และตำบลสองพี่น้อง ตำบลแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมเนื้อที่ 1,548,750 ไร่ หรือ 2,478 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 92 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 28 ของประเทศ
ต่อมาคณะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มีหนังสือลงวันที่ 17 ตุลาคม 2525 ถึงนายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้อนุรักษ์ป่าห้วยแร่ห้วยไคร้ ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วย กรมป่าไม้ จึงให้ นายสามารถ ม่วงไหมทอง ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และนายรุ่งโรจน์ อังกุรทิพากร เจ้าพนักงานป่าไม้ 2 สำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น ปรากฏว่า ในบริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าสมบูรณ์ดี มีทิวทัศน์สวยงาม มีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา ลานหิน และมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กส 0713(กจ) /78 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2526 เห็นควรให้ขยายเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานออกไปครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าว
กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ต่อมาได้มีมติการประชุมครั้งที่ 1/2527 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2527 ให้ขยายเขตอุทยานแห่งชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ ในท้องที่ตำบลแก่งกระจาน ตำบลสองพี่น้อง ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครอบคลุมเนื้อที่ 273,125 ไร่ หรือ 437.00 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 194 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2527 รวมเนื้อที่ 1,821,875 ไร่ หรือ 2,915 ตารางกิโลเมตร
ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุด และจังหวัดเพชรบุรี ได้ขอเพิกถอนพื้นที่เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เพรียง เนื้อที่ 28 ไร่ 2 งาน และอ่างเก็บน้ำห้วยป่าแดง เนื้อที่ 158 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ บางส่วนในท้องที่ตำบลห้วยแม่เพรียง และตำบลป่าเต็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 187.16 ไร่ หรือ 0.30 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 64 ก ลงวันที่ 24 กันยายน 2541 ทำให้ในปัจจุบันอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานคงเหลือพื้นที่ 1,821,687.84 ไร่ หรือ 2,914.70 ตารางกิโลเมตร
ความเป็นมา : เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเสด็จที่เขื่อนแก่งกระจาน ได้รับสั่งให้นายถนอม เปรมรัศมี อธิบดีกรมป่าไม้ เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2522 ได้มีกระแสพระราชดำรัสว่า “เรื่องป่าต้นน้ำ ลำธารของแม่น้ำเพชรบุรี ขอให้เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาอย่าให้มีการลักลอบตัดไม้ ถางป่า ทำไร่ในป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี เพราะจะทำให้เกิดความแห้งแล้ง แม้จะได้มีการให้สัมปทานป่าแปลงนี้ไปบ้างแล้ว ก็ขอให้ เจ้าหน้าที่ตรวจดูแลการทำไม้ อย่าให้เป็นการทำลายป่าเกิดขึ้น” จากพระราชดำรัสดังกล่าวประกอบกับนโยบายของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 452/2523 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2523 ให้นายสามารถ ม่วงไหมทอง นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นบริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารแม่น้ำเพชรบุรีเหนือเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ตามหนังสือรายงานการสำรวจ ด่วนที่สุด ที่ กส 0708/จช. 67 ลงวันที่ 15 เมษายน 2523 รายงานว่า บริเวณป่าดังกล่าวเป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี เป็นภูเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าสมบูรณ์ มีทิวทัศน์สวยงาม ประกอบด้วยน้ำตก ถ้ำ หน้าผา ทะเลสาบ พันธุ์ไม้มีค่านานาชนิด เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่างๆ เช่น เลียงผา วัวแดง กระทิง นก ปลาต่างๆ และช้างป่า ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและศึกษาความรู้ด้านต่างๆ ทั้งเป็นการรักษาสภาพป่าให้คงอยู่เป็นสมบัติของชาติถาวรสืบไปดังพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณพื้นที่ป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ในท้องที่ตำบลน้ำกลัดเหนือ กิ่งอำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอเขาย้อย และตำบลสองพี่น้อง ตำบลแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมเนื้อที่ 1,548,750 ไร่ หรือ 2,478 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 92 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 28 ของประเทศ
ต่อมาคณะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มีหนังสือลงวันที่ 17 ตุลาคม 2525 ถึงนายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้อนุรักษ์ป่าห้วยแร่ห้วยไคร้ ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วย กรมป่าไม้ จึงให้ นายสามารถ ม่วงไหมทอง ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และนายรุ่งโรจน์ อังกุรทิพากร เจ้าพนักงานป่าไม้ 2 สำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น ปรากฏว่า ในบริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าสมบูรณ์ดี มีทิวทัศน์สวยงาม มีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา ลานหิน และมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กส 0713(กจ) /78 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2526 เห็นควรให้ขยายเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานออกไปครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าว
กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ต่อมาได้มีมติการประชุมครั้งที่ 1/2527 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2527 ให้ขยายเขตอุทยานแห่งชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ ในท้องที่ตำบลแก่งกระจาน ตำบลสองพี่น้อง ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครอบคลุมเนื้อที่ 273,125 ไร่ หรือ 437.00 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 194 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2527 รวมเนื้อที่ 1,821,875 ไร่ หรือ 2,915 ตารางกิโลเมตร
ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุด และจังหวัดเพชรบุรี ได้ขอเพิกถอนพื้นที่เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เพรียง เนื้อที่ 28 ไร่ 2 งาน และอ่างเก็บน้ำห้วยป่าแดง เนื้อที่ 158 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ บางส่วนในท้องที่ตำบลห้วยแม่เพรียง และตำบลป่าเต็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 187.16 ไร่ หรือ 0.30 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 64 ก ลงวันที่ 24 กันยายน 2541 ทำให้ในปัจจุบันอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานคงเหลือพื้นที่ 1,821,687.84 ไร่ หรือ 2,914.70 ตารางกิโลเมตร
เขื่อนศรีนครินทร์
เขื่อนขุนด่านปราการชล
เขื่อนขุนด่านปราการชล ชื่อเดิมเรียกว่าเขื่อนคลองท่าด่านเป็นเขื่อนคอนกรีตอัดบดยาวที่สุดในประเทศไทยและในโลก ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝนไว้ในหน้าแล้ง และควบคุมไม่ให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร ไร่นาและพื้นที่การเกษตรในหน้าฝน โดยสร้างครอบฝายท่าด่านเดิม
Alexis Alejandro Sánchez Sánchez
อาเลกซิส อาเลคันโดร ซานเชซ ซานเชซ (สเปน: Alexis Alejandro Sánchez Sánchez) เป็นนักฟุตบอลชาวชิลี เกิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1988 ที่เมืองโตโกปียา ประเทศชิลี เล่นตำแหน่งปีก กองหน้า หรือกองกลางตัวรุก เขาเป็นที่รู้จักในชื่อ "El Niño Maravilla" หรือเจ้าหนูมหัศจรรย์[4][5] ในปี 2007 นิตยสารเวิลด์ซอกเกอร์ ให้เขาอยู่ในหนึ่งใน 50 วัยรุ่นที่น่าตื่นเต้นที่สุดในเกมระดับโลก[6][7] เขามีความสามารถทางด้านการเลี้ยงและฝีเท้าที่เร็ว ปัจจุบันเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ในลาลีกา
ธีรเทพ วิโนทัย
ธีรเทพ วิโนทัย หรือ ลีซอ (เกิด 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528) นักฟุตบอลชาวไทย ปัจจุบันเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ใน ไทยพรีเมียร์ลีก และได้รับเลือกเป็นผู้เล่นตัวจริงให้กับทีมชาติไทย ลีซอเริ่มโด่งดังและเป็นที่รู้จักจากการลงเล่นฟุตบอลทีมชาติไทยชุดแชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 21 23 และ24 ส่วนซีเกมส์ครั้งที่ 22 เป็นเพียงแค่ตัวสำรอง ในซีเกมส์ครั้งที่ 23 สามารถทำแฮตทริกได้ในนัดชิงชนะเลิศที่พบกับเวียดนาม ช่วยให้ทีมชาติไทยคว้าเหรียญทองในการแข่งขันซีเกมส์ 8 สมัยซ้อน ยิงประตูให้กับทีมชาติไทยชุดอายุไม่เกิน 23 ปีในกีฬาซีเกมส์ได้รวมทั้งสิ้น 14 ประตู
ธีรศิลป์ แดงดา
ธีรศิลป์ แดงดา เกิดวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2531 (ชื่อเล่น: มุ้ย) เป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทย ปัจจุบันเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ในไทยพรีเมียร์ลีก ในตำแหน่งกองหน้า
ธีราทร บุญมาทัน
ธีราทรเป็นที่สนใจทั่วไป ในราวกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 จากการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก 2012 โซนเอเชีย ระหว่างทีมชาติไทยกับทีมชาติซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเขาได้รับใบแดงให้ออกจากสนาม[1] และในไม่กี่วัน ในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 26 ระหว่างทีมชาติไทย พบกับทีมชาติอินโดนีเซีย ธีราทรซึ่งถูกเรียกเข้าติดทีมชุดซีเกมส์ หลังตกรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก ก็ได้รับใบแดงอีกครั้ง[2][3]
หลังจากนั้นในวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน ธีราทรซึ่งลงเล่นให้บุรีรัมย์ในไทยลีก ใช้เท้าเหยียบเข้าที่ท้องของคู่แข่ง ระหว่างพบกับสโมสรฟุตบอลโอสถสภา เอ็ม–150 สระบุรี[4][5] ต่อมาเมื่อวันที่ 9-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ธีราทรเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดบัวขวัญ จังหวัดนนทบุรี เพื่อตอบแทนบุญคุณบิดามารดา รวมทั้งเพื่อสงบจิตใจจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา[6]
วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556
สุดสาคร
สุดสาคร เป็นตัวละครในเรื่องพระอภัยมณี โดยสุดสาครเป็นลูกของพระอภัยมณีกับนางเงือกที่ช่วยเหลือพระอภัยมณีหนีมายังเกาะแก้วพิสดาร สุดสาครเกิดที่เกาะแก้วพิสดารและอยุ่เติบโตกับพระฤๅษี เมื่อโตขึ้นสุดสาครจึงออกตามหาพ่อ โดยมีม้านิลมังกรเป็นพาหนะ
ประวัติสุดสาคร[แก้]
ณ เกาะแก้วพิสดาร นางเงือกได้ให้กำเนิดบุตรชายที่เกิดจากพระอภัยมณี ชื่อ สุดสาคร พระฤๅษีที่อยู่ในเกาะแก้วพิสดารได้เลี้ยงดูและสั่งสอนวิชาต่างๆ ให้สุดสาคร สุดสาครจึงออกเดินทางตามหาพระบิดา ที่ออกจากเกาะแก้วพิสดารไป โดยมีสัตว์พาหนะคู่ใจ คือ ม้านิลมังกร ทั้งสองได้หลงไปในเกาะผีสิง จึงต้องต่อสู้กับพวกผีทั้งหมดในเกาะเป็นเวลานานพอสมควร จนเกือบจะเสียท่า แต่ก็รอดมาได้ด้วยความช่วยเหลือจากพระฤๅษีเกาะแก้วพิสดารหลังจากนั้นสุดสาครได้เดินทางต่อจนพบกับชีเปลือย และถูกชีเปลือยใช้อุบายล่อลวงเอาม้านิลมังกรและไม้เท้าวิเศษจนถูกผลักตกหน้าผา เดชะบุญที่สุดสาครไม่ตายจึงกลับมาชิงไม้เท้าวิเศษและม้านิลมังกรคืนไปได้ที่เมืองแห่งหนึ่ง เจ้าเมืองแห่งนั้นได้รับอุปการะสุดสาครไว้เป็นลูกบุญธรรม จนสุดสาครโตขึ้น จึงออกเดินทางตามหาพระบิดาต่อ โดยครั้งนี้เจ้าเมืองการเวกให้เสาวคนธ์และหัสชัยซึ่งเป็นพระโอรสและพระธิดาของพระองค์ พร้อมทั้งกองเรือรบจำนวนหนึ่งออกเดินทางไปกับสุดสาครด้วย ระหว่างทางกองเรือของสุดสาครถูกฝูงผีเสื้อยักษ์โจมตีและจับตัวเอาเสาวคนธ์และหัสชัยไป สุดสาครติดตามไปสังหารผืเสื้อยักษ์และชิงตัวทั้งสองคนกลับคืนมาได้สำเร็จและก็ได้พบพระบิดาในที่สุด
รัชนก อินทนนท์
รัชนก อินทนนท์ (ชื่อเล่น: เมย์; 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เติบโตที่จังหวัดยโสธร[5] — ) เป็นนักกีฬาแบดมินตันชาวไทย ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556 รัชนก อินทนนท์ ได้ก้าวขึ้นสู่การเป็นแชมป์โลกจากการแข่งขันเวิลด์แชมเปียนชิพ และเป็นการสร้างประวัติศาสตร์แชมป์โลกแบดมินตันที่มีอายุน้อยที่สุด[6] ปัจจุบัน รัชนกเล่นให้แก่สโมสรชิงเต่าในลีกระดับโลกที่ประเทศจีน โดยเซ็นสัญญาแบบปีต่อปี[1
ไทเกอร์ วูดส์
เอลดริค ต้น วูดส์ (อังกฤษ: Eldrick Tont Woods) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ไทเกอร์ วูดส์ (อังกฤษ: Tiger Woods) (30 ธันวาคม พ.ศ. 2518 - ) นัก กอล์ฟ อาชีพชาวอเมริกันมืออันดับหนึ่งของโลก สัญชาติอเมริกัน เกิดจากมารดาชาวไทย ชื่อ นางกุลธิดา วูดส์ (พันธ์สวัสดิ์) กับบิดาอดีตทหารผ่านศึกใน สงครามเวียดนาม ชาว แอฟริกัน-อเมริกัน ชื่อ เอิร์ล วูดส์ ไทเกอร์ วูดส์ มีพี่ชายและพี่สาวต่างมารดา 3 คน
ปัจจุบัน ไทเกอร์ วูดส์ ชนะเลิศการแข่งขันพีจีเอทัวร์ ทั้งสิ้น 62 รายการ และรายการเมเจอร์ 14 รายการ
ไทเกอร์ วูดส์ มีชื่อเล่นเป็นภาษาไทยว่า ต้น โดยส่วนตัว ไทเกอร์นับถือศาสนาพุทธ สมรสกับเอลิน นอร์เดเกรน เมื่อ ค.ศ. 2004 และมีบุตร 2 คน คือ แซม อเล็กซิสและชาร์ลี เอ็กเซล แต่ในปี ค.ศ. 2010 ไทเกอร์และเอลินได้หย่ากันเนื่องจากปัญหาในครอบครัว
เฟรด ฮอยล์
เซอร์ เฟรด ฮอยล์ (อังกฤษ: Sir Fred Hoyle; สมาชิกราชสมาคม FRS; 24 มิถุนายน ค.ศ. 1915 - 20 สิงหาคม ค.ศ. 2001) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักในฐานะผู้สนับสนุนทฤษฎีนิวคลีโอซินทีสิสของดาวฤกษ์ และมักร่วมในการถกเถียงต่างๆ เกี่ยวกับจักรวาลวิทยาและประเด็นทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโต้แย้งเกี่ยวกับทฤษฎี"บิกแบง" ซึ่งเป็นวลีที่เขาตั้งขึ้นเป็นการล้อเลียน นอกจากในฐานะนักดาราศาสตร์แล้ว ฮอยล์ยังเป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ด้วย และร่วมเขียนหนังสือหลายเล่มกับบุตรชาย คือ เจฟฟรีย์ ฮอยล์ เขาอุทิศเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตทำงานให้กับสถาบันดาราศาสตร์แห่งเคมบริดจ์ และได้ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสถาบันแห่งนี้เป็นเวลาหลายปี ฮอยล์เสียชีวิตที่เมืองบอร์นมัธ ประเทศอังกฤษ
พี่มาก..พระโขนง
พี่มาก..พระโขนง เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2556 แนวรักใคร่ สยองขวัญ และตลก ซึ่งดัดแปลงจากเรื่องแม่นากพระโขนง ผีพื้นบ้านไทย กำกับโดย บรรจง ปิสัญธนะกุล ผู้มีชื่อเสียงจากผลงาน สี่แพร่ง ตอน คนกลาง, ห้าแพร่ง ตอน คนกอง และ กวน มึน โฮ กับทั้งนำแสดงโดย มาริโอ้ เมาเร่อ เป็นพี่มาก กับดาวิกา โฮร์เน่ เป็นแม่นาก พร้อมด้วยณัฏฐพงษ์ ชาติพงษ์, พงศธร จงวิลาส, อัฒรุต คงราศรี และกันตพัฒน์ สีดา ซึ่งเคยร่วมแสดงใน สี่แพร่ง และ ห้าแพร่ง มาแล้ว
ภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มฉายตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จทั้งรายได้ เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย และเป็นภาพยนตร์ทำรายได้มากที่สุดของจีทีเอช แทนที่ ATM เออรัก เออเร่อ (2555) ที่ทำสถิติเดิมไว้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)